เงินเฟ้อ
หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าโดยทั่วๆ ไปเพิ่มสูงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องหากสินค้ามีระดับราคาสินค้าสูง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งก็ยังไม่ถือว่าเกิดเงินเฟ้อ จำเป็นต้องสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยอาจมีสินค้าบางชนิดราคาสูงขึ้น ขณะที่ราคาสินค้าบางชนิดคงที่หรือลดต่ำลง
สาเหตุ : สาเหตุที่เกิดจากแรงดึงของอุปสงค์ ได้แก่ การที่อุปสงค์มวลรวมสำหรับสินค้าและบริการมีมากกว่าอุปทานมวลรวมของสินค้าและบริการ
ผลกระทบ : 1. อำนาจซื้อของเงินลดลง
2. การกระจายรายได้เหลื่อมล้ำ
3. อัตราดอกเบี้ยที่เป็นตัวเงินสูงขึ้น
4. ผลที่มีต่อการคลังของรัฐบาล
5. ผลที่มีต่อดุลการชำระเงินของประเทศ
6. ผลที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
การเเก้ไข : 1. การใช้มาตรการของนโยบายการเงิน
2. การควบคุมโดยตรง
3. การใช้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ของสถาบันการเงิน
เงินฝืด
หมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการโดยทั่วๆ ไปลดลงเรื่อยๆ และต่อเนื่องผลของภาวะเงินฝืดจะตรงข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ กล่าวคือผู้มีรายได้ประจำและเจ้าหนี้จะได้รับประโยชน์ส่วนพ่อค้า นักธุรกิจ และผู้ถือหุ้น จะเสียเปรียบ ในภาวะเช่นนี้ทำให้ผู้ผลิตขายสินค้าไม่ออก การผลิต การลงทุนและการจ้างงานลดลง ทำให้เกิดการว่างงานเพิ่มขึ้น
สาเหตุ : สาเหตุที่ทำให้เกิดเงินฝืด คือ ความต้องการซื้อสินค้าและบริการมีน้อยกว่าปริมาณสินค้าและบริการที่ผลิตได้หรืออุปสงค์มวลรวมน้อยกว่าอุปทานมวลลรวม (AD<AS) ซึ่งทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) หรือสินค้าขายไม่ออก นอกจากนี้ยังส่งผลให้ธุรกิจลดปริมาณการผลิต
ผลกระทบ : 1. เกษตรกร
2. พ่อค้าและนักธุรกิจ
3. ผู้มีรายได้ประจำ
4. ลูกหนี้และเจ้าหนี้
5. รัฐบาล
การเเก้ไข : เมื่อเกิดภาวะเงินฝืดสามารถแก้ไขได้โดยนโยบายการเงินและนโยบายการคลังเช่นกัน เพราะนโยบายทั้งสองนี้ นอกจากจะมีมาตรการในการลดการใช้จ่ายมวลรวมแล้ว (ในกรณีแก้ไขภาวะเงินเฟ้อ) ก็ยังมีมาตรการในการช่วยให้การใช้จ่ายมวลรวมเพิ่มขึ้น ซึ่งสามารถจัดอุปทานส่วนเกินให้หมดไปได้ภาวะเงินฝืดก็จะสินสุดลง มาตรการที่แก้ไขภาวะเงินฝืด